วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562

อินทรวิเชียรฉันท์๑๑



อินทรวิเชียรฉันท์๑๑ คืออะไร 


  “อินทรวิเชียรฉันท์” เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย ท่านเรียกว่า “อินทรวิเชียรคาถา”เป็นติฏฐุภาฉันท์ ฯ “ติฏฐุภา” แปลว่า “ฉันท์ที่เบียดเบียนความไม่ไพเราะในฐานะ ๓ คือ ต้นบาท, กลางบาท และปลายบาท” ฯ “อินทรวิเชียร” แปลว่า “คาถาที่เหมือนคทาเพชรของพระอินทร์ เพราะมีเสียงหนักในหนต้นตลอดหนปลาย” เป็นคาถา ๔ บาท ๆ ละ ๑๑ คำ มีสูตรว่า “อินฺทาทิกา ตา วชิรา ชคา โค” แปลความว่า “คาถาที่มี ต คณะ ต คณะ ช คณะ และครุลอย ๒ ชื่อว่า “อินทรวิเชียร”
              ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านนำสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยนำมาเพียง ๒ บาท แล้วปรับปรุงให้เป็น ๔ วรรค เพราะมีบาทละ ๑๑ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๑๑” แล้วเพิ่มสัมผัสเข้า คือ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓, และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป 
 อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ จะมีแบบแผนเหมือนกับ กาพย์ยานี ๑๑  แต่เพิ่ม ครุ,  ลหุ เข้าไป อินทรวิเชียร แปลว่า เพชรพระอินทร์ หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอย่างเพชรของพระอินทร์ นิยมใช้แต่งข้อความที่เป็นบทชมหรือบทคร่ำครวญนอกจากนี้ยังแต่งเป็นบทสวด หรือพากย์โขนด้วย


คำครุ หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น กา ตี งู กับคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้ที่มีตัวสะกด เช่น นก บิน จาก รัง นอน และคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา ซึ่งถึอว่าเป็นเสียงมีตัวสะกด
คำลหุ หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น จะ ติ มุ เตะ และคำที่ใช้พยัญชนะคำเดียว เช่น ก็ บ่ ณ ธ นอกจากนี้คำที่ประสมด้วย สระอำ บางทีก็อนุโลมให้เป็นคำลหุได้ เช่น ลำ
คำลหุ เวลาเขียนเป็นสัญลักษณ์ ใช้เครื่องหมายเหมือนสระอุ แทน
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (1)

เสนอโทษะเกียจคร้าน            กิจการนิรันดร
โดยอรรถะตรัสสอน                กลหกประการแถลง

ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (2)
ราชาพระมิ่งขวัญ            สุนิรันดร์ประเสริฐศรี
ไพร่ฟ้าประดามี              มนชื่นสราญใจ
ทรงเป็นบิดรราษฎร์         กิติชาติขจรไกล
กอปรบารมีชัย                ชุติโชติเชวงเวียง

ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (3)

พวกราชมัลโดย             พลโบยมืใช่เบา
สุดหัตถแห่งเขา             ขณะหวดสิพึงกลัว
บงเนื้อก็เนื้อเต้น            พิศเส้นสรีระรัว
ทั่วร่างและทั้งตัว           ก็ระริกระรัวไหล

                                   ตัวอย่างแผนผังฉันทลักษณ์อินทรวิเชียรฉันท์๑๑



อ้างอิง
https://www.google.com/search?biw=1366&bih=613&tbm=isch&sa=1&ei=ZVk9XNnvNYbGvQSB7ITIBg&q=%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C+11&oq=%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3&gs_l=img.1.2.0l9j0i67.3596.6438..8719...0.0..0.274.2221.2-9......0....1..gws-wiz-img.....0.XtWYhh9N9e4#imgrc=vpPCxzthNsdw8M:

https://krupiyarerk.wordpress.com/2011/10/02/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C-%E0%B9%91%E0%B9%91/

http://www.watmoli.com/poetry-chapter5/old-verse/5118.html


http://arisa-th.blogspot.com/2013/09/11_20.html












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น