วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562

อินทรวิเชียรฉันท์๑๑



อินทรวิเชียรฉันท์๑๑ คืออะไร 


  “อินทรวิเชียรฉันท์” เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย ท่านเรียกว่า “อินทรวิเชียรคาถา”เป็นติฏฐุภาฉันท์ ฯ “ติฏฐุภา” แปลว่า “ฉันท์ที่เบียดเบียนความไม่ไพเราะในฐานะ ๓ คือ ต้นบาท, กลางบาท และปลายบาท” ฯ “อินทรวิเชียร” แปลว่า “คาถาที่เหมือนคทาเพชรของพระอินทร์ เพราะมีเสียงหนักในหนต้นตลอดหนปลาย” เป็นคาถา ๔ บาท ๆ ละ ๑๑ คำ มีสูตรว่า “อินฺทาทิกา ตา วชิรา ชคา โค” แปลความว่า “คาถาที่มี ต คณะ ต คณะ ช คณะ และครุลอย ๒ ชื่อว่า “อินทรวิเชียร”
              ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านนำสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยนำมาเพียง ๒ บาท แล้วปรับปรุงให้เป็น ๔ วรรค เพราะมีบาทละ ๑๑ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๑๑” แล้วเพิ่มสัมผัสเข้า คือ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓, และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป 
 อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ จะมีแบบแผนเหมือนกับ กาพย์ยานี ๑๑  แต่เพิ่ม ครุ,  ลหุ เข้าไป อินทรวิเชียร แปลว่า เพชรพระอินทร์ หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอย่างเพชรของพระอินทร์ นิยมใช้แต่งข้อความที่เป็นบทชมหรือบทคร่ำครวญนอกจากนี้ยังแต่งเป็นบทสวด หรือพากย์โขนด้วย

เทคโนโลยีการขนส่ง



การขนส่ง 

         เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบหรือสินค้าตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปยังจุดที่มีการบริโภค หรือการส่งคืนสินค้าผิดปกติกลับมายังคลังสินค้า รวมถึงการขนย้ายสินค้าไปยังจุดที่จะทำลาย ทำให้องค์การต้องคำนึงถึงรูปแบบลักษณะการเลือกวิธีการขนส่งประเภทต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับตัวสินค้าหรือลักษณะของงาน รวมถึงเส้นทางในการขนส่งอีกด้วย เช่น ทางรถยนต์ ทางอากาศ ทางน้ำ ทางท่อ  เป็นต้น เพื่อให้ถูกต้องตามกฎระเบียบและเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า โดยองค์การมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการจัดส่งให้ถูกสถานที่ ถูกเวลา ในสภาพที่สมบูรณ์ รวมถึงการควบคุมต้นทุนที่อันจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด



การขนส่ง มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ

  1. เส้นทาง (The Way) เส้นทางในการขนส่ง แบ่งออกเป็นเส้นทางน้ำซึ่งเป็นเส้นทางการเดินเรือระหว่างประเทศโดยผ่านทะเลและมหาสมุทร หรือเส้นทางภายนอกในประเทศ เช่น ลำคลอง แม่น้ำ ฯลฯ เส้นทางบก แบ่งออกเป็นเส้นทางรถยนต์และเส้นทางรถๆฟ ประการสุดท้าย คือเส้นทางอากาศ ซึ่งสามารถติดต่อได้ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ นอกจากเส้นทางการขนส่งดังกล่าวแล้ว ท่อในการลำเลียง ก๊าซหรือวัสดุอย่างอื่น ก็จัดเป็นเส้นทางด้วย
  2. พาหนะ (The Vehicle) พาหนะเป็นสื่อกลางในการลำเลียงผู้โดยสารหรือสินค้าในสมัยโบราณ ได้แก่ช้าง ม้า ลา อูฐ เกวียนเรือ ฯลฯ แต่ปัจจุบันได้นำเครื่องจักรมาใช้ในการขับเคลื่อนแทนแรงงานคนและสัตว์ พาหนะในปัจจุบัน ได้แก่ รถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน เรือ ฯลฯ 
  3. สถานี (The Terminal) สถานีเป็นจุดเริ่มต้นหรือปลายทางของการขนส่งสถานีแต่ละประเภทขึ้นอยู่กับเส้นทางและยานพาหนะในการขนส่ง ตัวอย่างการขนส่งทางบก สถานี ได้แก่ สถานีขนส่งรถประจำทาง สถานีรถไฟ การขนส่งทางน้ำ ได้แก่ท่าเรือ สะพานปลา การขนส่งทางอากาศ ได้แก่ สนามบิน 
  4. ผู้ประกอบการ (The carrier) ผู้ประกอบการคือ ผู้ที่ให้บริการการขนส่งอาจจะเป็นรัฐบาล หรือเอกชน ผู้ให้บริการอาจได้รับค่าจ้าง ถ้าดำเนินการในลักษณะของธุรกิจหรือไม่ได้รับผลตอบแทน ถ้าดำเนินการเพื่อส่วนบุคคลมิได้รับจ้าง

  •  ผลกระทบของการขนส่ง

การขนส่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศ เป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะการพัฒนาระบบการขนส่ง ย่อมมีส่วนผลกระทบต่อการพัฒนาระบบอื่นๆ ของประเทศด้วย การพัฒนาระบบการขนส่งที่ดีย่อมทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายผลผลิตจากภาคชนบทสู่ตัวเมือง ทำให้คนชนบทมีรายได้ดีขึ้นแต่ก็ส่งผลกระทบให้ประชาชนในชนบทในชนบทเปลี่ยนการดำรงชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม ทั้งนี้เพราะสามารถจัดซื้อสิ่งอุปดภค บริโภคจากตัวเมืองได้สะดวกขึ้น การเปลี่ยนระบบการผลิตในชนบท จากการผลิตเพื่อบริโภค ไปสู่การผลิตเพื่อขาย ต้องใช้ที่ดิน น้ำและยาฆ่าแมลงมากขึ้นกว่าเดิม ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมผลกระทบดังกล่าวแล้วสามารถอธิบายได้ดังนี้

1. ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ

การขนส่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่ พื้นที่ที่มีการพัฒนาการการขนส่งอย่างพอเพียงย่อมทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะการสร้างทางรถยนต์ ทางรถไฟ เข้าไปในพื้นที่ทำให้ประชาชนในพื้นที่สามารถนำผลผลิตออกสู่ตลาด และส่งผลให้เกิดรายได้ต้องการขยายผลผลิตมากขึ้น การขนส่งนอกจากนำผลผลิตออกจากหมู่บ้านแล้ว ยังนำสินค้าจากเมืองเข้าสู่หมู่บ้านอีกด้วย การแลกเปลี่ยนผลผลิตและการสร้างผลผลิตเพิ่มขึ้นดังกล่าวแล้วก่อให้เกิดรายได้ การสร้างงาน การลงทุน ผลที่สุดก็เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา การพัฒนาการขนส่งทางรถไฟ และทางรถยนต์เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ทำให้ประเทศนี้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว (Talley, 1983:3) 



วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562

สุภาษิตคำพังเพย



สำนวน สุภาษิต คำพังเพย



ความหมายของสำนวนสุภาษิต


- สำนวน 
เป็นคำกล่าวที่คมคาย กะทัดรัดงดงาม และฟังดูไพเราะจับใจ รวมเนื้อความของเรื่องยาว ๆ ให้สั้นลง เป็นคำกล่าวที่ใช้ถ้อยคำเพียงเล็กน้อย แต่กินความหมายลึกซึ้ง


- สุภาษิต หมายถึง คำกล่าวที่ดีงาม เป็นคำสั่งสอนที่มุ่งแนะนำให้ปฏิบัติ ให้ประพฤติดี ประพฤติชอบ หรือให้ละเว้น

ตัวอย่าง เช่น 

หมวด ก
ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง    หมายถึง    คนเราจะสวยได้ก็ด้วยการรู้จักแต่งตัว
กินบนเรือนขี้รดบนหลังคา              หมายถึง    คนที่เนรคุณ
กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้                      หมายถึง    ช้าเกินการ ได้อย่างเสียอย่าง
กิ้งก่าได้ทอง                                 หมายถึง    คนที่ได้ดี ลืมตัว ลืมอดีต
กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง          หมายถึง    ตัวเองรู้เอง ทำเอง
ไก่แก่แม่ปลาช่อน                          หมายถึง    ผู้หญิงสูงอายุ ที่มีเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว
ใกล้เกลือกินด่าง                            หมายถึง    ใกล้ของดี แต่ไม่ได้กิน
ก่อกรรมทำเข็ญ                             หมายถึง    ทำให้ยุ่งยากลำบากใจ
กิ่งทองใบหยก                               หมายถึง    คู่แต่งงานที่เหมาะสมกัน
กินข้าวร้อนนอนสบาย                    หมายถึง    เกียจคร้าน ขอบทำอะไรจวนตัว
หมวด ข
ขิงก็ราข่าก็แรง หมายถึง    ต่างฝ่ายต่างแรงด้วยกัน
ขี้ริ้วห่อทอง     หมายถึง    ดูภายนอกไม่สวยงามแต่ข้างในมีค่ามาก
ข้าวยากหมากแพง  หมายถึง    เกิดขัดสนอาหารขึ้นในบ้านเมือง
ไข่ในหิน  หมายถึง   ของที่ระมัดระวังอย่างมาก
ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน    หมายถึง    ทำอาการโกรธจัดเต็มที่
ขมิ้นกับปูน  หมายถึง    เป็นศัตรูกัน เข้ากันไม่ได้
ขี้หมูรา ขี้หมาแห้ง   หมายถึง    เรื่องเล็ก ๆ น้อย 
ข้าวใหม่ปลามัน หมายถึง คนที่แต่งงานกันใหม่ ๆ ย่อมมีความสุขสดชื่น
ขว้างงูไม่พ้นคอ หมายถึง    ไม่รู้ว่าจะทำอย่าไรดี
เขียนเสือให้วัวกลัว  หมายถึง    ขู่หรือหลอกให้กลัว
    
หมวด ค
คางคกขึ้นวอ    หมายถึง    คนถ่อยหรือต่ำช้า
คาบลูกคาบดอก    หมายถึง    คับขัน สองแง่สองมุม ครึ่งดีครึ่งเสีย
คตในข้องอในกระดูก   หมายถึง    ไม่ซื่อ
คบคนจรหมอนหมิ่น    หมายถึง    คบกับคนที่ไม่รู้จักกันดี อาจมีอันตรายได้ง่าย


ดรีมเวิลด์


ดรีมเวิลด์ 
     เป็นสวนสนุกและสวนสัตว์ในประเทศไทย เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 ตั้งอยู่ที่ กิโลเมตรที่ 7 เส้นทางสายรังสิต-นครนายก บริเวณคลองสาม มีเนื้อที่ประมาณ 160 ไร่ ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี มีสถานที่พักผ่อน และบริเวณที่ให้ความบันเทิงมากมาย เช่น ดรีมเวิลด์พลาซ่า ดรีมการ์เด้น แฟนตาซีแลนด์ และแอดเวนเจอร์แลนด์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีขบวนพาเหรดนานาชาติ รถไฟเหาะตีลังกา หนูลมกรด ซูเปอร์สแปลช ทอร์นาโด แกรนด์แคนยอน และอื่น ๆ อีกมากมาย

สวนสนุกดรีมเวิลด์ โลกแห่งความสุขสนุกทั้งครอบครัว

“ดรีมเวิลด์” เป็นสวนสนุกและสถานที่พักผ่อนที่รวบรวมความบันเทิงนานาชนิดเข้าไว้ด้วยกัน มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 160 ไร่ตั้งอยู่ที่ กม.7 รังสิตนครนายก (คลอง3)

“ดรีมเวิลด์” เกิดขึ้นจากความคิดริเริ่มของ“ตระกูลกิติพราภรณ์” ซึ่งในขณะนั้นได้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสวนสนุกคือ สวนสนุกแดนเนรมิต

ที่มาของโครงการ จากประสบการณ์อันยาวนานในการบริหารงาน “สวนสนุกแดนเนรมิต” ทำให้ผู้บริหารมองว่า ในปัจจุบันโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ มีสวนสนุกประเภทนี้เพียง 3 แห่งเท่านั้นคือ แดนเนรมิต, สวนสยามและซาฟารีเวิลด์ ซึ่งยังไม่เพียงพอสำหรับความต้องการของคนกรุงเทพฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ด้วยเหตุนี้ ผู้บริหารจึงมีโครงการที่จะเปิดสวนสนุกแห่งใหม่ขึ้น เพื่อให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นปอดแห่งใหม่ของคนกรุงเทพฯรวมถึงเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติด้วย

ด้วยเงินลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท จินตนาการที่ไม่มีขอบเขตและความร่วมมือร่วมใจของผู้เชี่ยวชาญ